ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นว่า ด้วยหลายหลากเหตุผล นายฟาวเลอร์ เอช.ดับเบิลยู. (Fowler H.W.) จึงเขียนหนังสือชื่อ "เดอะคิงส์อิงลิช" (The King's English) หรือ "ภาษาอังกฤษอย่างบริเตน" โดยเนื้อหากว่ายี่สิบหน้าในหนังสือดังกล่าวอธิบายกฎของการใช้ shall และ will พร้อมกับคำวิจารณ์ว่า การไปรับเอากริยานุเคราะห์ทั้งสองมาจากภาษาเยอรมันโดยที่ชาวอังกฤษเองก็ไม่ใคร่เข้าใจการใช้มากมายนัก ทำให้เป็นความวุ่นและอลเวงอยู่ในบัดนี้
นายชาลส์ ทอลบัต ออนเยินส์ (Charles Talbut Onions) นักไวยากรณศาสตร์ชาวอังกฤษ กล่าวว่า การใช้ shall และ will ได้อย่างถูกต้องตามตำรับของเจ้าของภาษา (หมายถึง เยอรมัน) นั้นเป็นบททดสอบว่าผู้ใช้ได้อย่างนั้นเป็นผู้พูดภาษาอังกฤษได้อย่างแท้จริง
โดยที่ชาวอเมริกัน ชาวไอร์แลนด์ และชาวสก็อตแลนด์ รับเอา shall และ will ไปใช้ในภาษาตนเองอย่างไม่ถูกต้องนัก จึงมีมุกตลกแต่โบราณเกี่ยวกับชายชาวสก็อตแลนด์ผู้หนึ่งซึ่งตกลงไปในแม่น้ำ และร้องว่า "I will die! Nobody shall help me!"
ในขณะนี้ รัฐบาลของหลายชาติเห็นชอบด้วยที่จะใช้ will แทน shall ในหลาย ๆ สถานการณ์ แต่ก็หาได้มีการยอมรับความเห็นชอบนั้นและนำเอาไปใช้จริง ๆ ไม่
หนังสือว่าด้วยการใช้ภาษาอังกฤษในปัจจุบันของนายฟาวเลอร์ เอช.ดับเบิลยู. ซึ่งพิมพ์จำหน่ายเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2545 กล่าวถึงการใช้ shall และ will ว่า สำหรับชาวอเมริกานั้นนิยมใช้ shall มากกว่า will
ในภาษากฎหมายนั้น จะใช้คำว่า shall และ shall not เพื่อให้ภาษาฟังดูศักดิ์สิทธิ์ ขึงขัง และเป็นการใช้บังคับ ห้ามทำเช่นนั้น ให้ทำเช่นนั้น ให้เป็นเช่นนั้น หรือให้เกิดผลเช่นนั้นจริง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ประโยคภาษาไทยว่า
- "ให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติคณะหนึ่ง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน..." ภาษากฎหมายในภาษาอังกฤษจะว่า "There shall be a National Health Commission consisting of the Prime Minister as chairperson..." และ
- "พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้" ว่า "The King shall be enthroned in a position of revered worship. No person shall violate the King. The King shall not be accused through any means."
- "ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ" ว่า "The Council for National Security shall cease to functions en bloc."
- "ห้ามมิให้ผู้ใดสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ผู้ละเมิดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกสามสิบปี" ว่า "No person shall have a smoke in a public place. The contravener shall be liable to imprisonment for thirty years."
ในภาษาราชการ คำว่า shall เป็นภาษาแบบแผนและเป็นทางการกว่า will
ในเพลงและคำประพันธ์อาจใช้ shall ก็ได้ เป็นต้นว่า "I Shall Be Released" "We Shall Overcome" และ "Shall We Gather at the River?"
ในภาษาพูดนิยมใช้ will โดยปรกติ และใช้ shall เพื่อแสดงอาการแดกดัน
ในบรรดาประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเว้นแต่สหรัฐอเมริกา กริยานุเคราะห์ shall เป็นแบบแผนปรกติสำหรับบุรุษที่หนึ่งในการยื่นข้อเสนอหรือแนะนำใด ๆ เป็นต้นว่า
นาย ก: "It is a bit hot in here." ("ข้างในนี้ร้อนจัง")
นาย ข: "Shall I open a window?" ("ถ้าอย่างนั้นฉันไปเปิดหน้าต่างนะ", สถานการณ์เช่นนี้ ภาษาอังกฤษอย่างอเมริกาจะว่า "Should I open the window" และชาวไอร์แลนด์จะว่า "Will I open the window?") --hataru 17:24, 9 เมษายน 2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น